ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ผมเปิดสมุดบัญชีเงินฝากของธนาคารสาขาในมหาวิทยาลัยไว้รวม 3 ธนาคาร เป็นสาขาที่ต่างจังหวัด พอดีช่วงนี้ย้ายมาอยู่ กทม. แล้ว เลยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีสมุดบัญชีเงินฝากอยู่ในสาขานั้น จึงตั้งใจว่าจะปิดบัญชีสาขาต่างจังหวัดไปให้หมด จะได้ไม่มีอะไรติดค้าง
ด้วยความสงสัยที่ว่า แล้วเราสามารถทำการ ปิดบัญชีธนาคารจากต่างสาขา ได้หรือไม่ ก็เลยไปโพสต์ถามที่ห้อง สินธร ครับ ซึ่งห้องนั้นก็ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินโดยเฉพาะคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารเกือบทุกแห่งคอยตอบคำถามอยู่
ตอนแรกคิดว่าธนาคารไหนๆ คงมีหลักเกณฑ์เหมือนๆ กันแต่พอได้คำตอบของแต่ละธนาคารมาแล้วบางธนาคารก็สามารถทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เลยขอเอามาสรุปลงในนี้อีกรอบครับ
ธนาคารกสิกรไทย : ทำไม่ได้ ต้องไปทำเรื่องปิดที่สาขาที่ไปเปิดเท่านั้น
ธนาคารกรุงไทย : ทำได้ ใช้บัตรประชาชนและสมุดบัญชีไปติดต่อธนาคาร (เจ้าของบัญชีต้องไปเอง)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : ทำไม่ได้ ต้องไปทำเรื่องปิดที่สาขาที่ไปเปิดเท่านั้น
ธนาคารไทยพาณิชย์ : ทำได้ ในกรณีที่เราต้องการย้ายเงินจากในบัญชีเดิมไปยังสาขาที่เราไปติดต่อเท่านั้น ส่วนถ้าจะปิดบัญชีเฉยๆ ก็ ทำไม่ได้ เช่นกัน
ส่วนธนาคารอื่นๆ ผมยังไม่ได้รับการยืนยันจากคอลเซ็นเตอร์นะครับ ว่าสามารถทำได้หรือไม่ได้ยังไง แต่ส่วนใหญ่คนที่มาตอบกระทู้บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ได้ ยกเว้น กรุงไทย กับ ไทยพาณิชน์ ตามที่กล่าวไปข้างต้น
หมายเหตุ : เป็นบัญชีแบบออมทรัพย์ธรรมดานะครับ
ซึ่งระหว่างที่กำลังหาข้อมูลในกูเกิลนั้น ผมก็ไปเจอข้อความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการปิดบัญชี จาก Google guru ดังนี้ครับ
ความลับของการปิดบัญชีธนาคาร
ที่มาบอกเนี่ยเพราะเป็นวิธีที่ธนาคารปกปิดมาตลอด
เคยมีหนังสือพิมพ์ออกมาขายแต่ธนาคารสั่งเก็บหมด
โปรด..อ่าน..ช้า ช้า…….
หากคิดต้องการถอนเงิน โดยจะไม่ใช้บัญชีนี้อีกต่อไปแล้ว….
..ห้ามเบิกเงินแค่ที่มีในบัญชี ให้ใช้วิธี…. ไม่กรอกตัวเลข … แต่..เขียน.. ปิดบัญชี
เพียงเท่านี้..ธนาคารต้องจ่ายดอกเบี้ยคุณ 6 เดือนวิธีนี้..เป็นวิธีที่ธนาคารไม่พยายามบอกคนฝากเงิน เพราะธนาคารมันเสียเปรียบ…
แต่ต้องเป็นกรณีที่เป็นบัญชีออมทรัพย์นะ ถ้าเป็นบัญชี ฝากประจำเราจะไม่ได้ดอก เพราะถือว่าฝากไม่ครบตามกำหนด
แต่ถ้าบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ หรือที่เรียกว่า savings (สะสมทรัพย์)
ธนาคาร จะคิดดอกให้ทุวันตามยอดเงินที่มี…เข้าๆออก ครบ6 เดือนทีหนึ่งก็จะมีดอกเข้ามาให้ ดังนั้นถ้าใครปิดบัญชี เขาก็ต้องคิดดอกมาให้ด้วย
ส่วนมากประชาชนจะไม่รู้ ก็จะถอนแค่จำนวนเงินที่มีในบัญชี
แล้วก็ทิ้งสมุดไว้..ตรงนี้แหละที่ธนาคารได้กำไร
เพราะสมุดนั้นพอทิ้งไว้นานเกินก็จะปิดไปเอง
และเดี๋ยวนี้ธนาคารส่วนมากจะกำหนดให้ บัญชีต้องมีเงินเหลือติดอยู่
อย่างน้อยๆ 500 บาท หากขาดการเคลื่อนไหวนานเกิน 3-6 เดือน ก็จะเริ่มหักค่ารักษาบัญชี
รายละประมาณ 50 บาทหรือไงเนี่ยแหละที่บอกนี่เป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคน่ะ
แต่ส่วนมากมักจะไม่ชอบไปธนาคาร ถอนทางเอทีเอ็ม
แล้วก็คิดว่าที่เหลือแค่เศษสตางค์ช่างมัน..
พอเราขาดการติดต่อธนาคาร เขาก็หักค่ารักษาบัญชี
เงินไม่พอเขาก็ปิด บช เองตามกฎ
ข้อความด้านบนนี้ผมก็ไม่ยืนยันนะครับ ว่าเป็นจริงตามนั้นหรือเปล่า เพราะเห็นถูกส่งกันไปมาเรื่อยๆ หลายเว็บ ใครรู้ความจริงก็มาแชร์กันได้ครับ 🙂